วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กลอน


*กลอน*

ปลาบู่ทองเป็นนิทานพื้นบ้านไทย
ที่สอนให้รู้เรื่องราวสาวชาวบ้าน
ด้วยทำบุญกุศลและผลทาน

จึงแต่งงานกับกษัตริย์ขัตติยา


ข้อคิดจากนิทานเรื่องปลาบู่ทอง

ข้อคิดจากนิทานเรื่องปลาบู่ทอง

1.คิดดี ทำดี ต้องได้ดี
2.การให้อภัยซึ่งกันและกันทำให้จิตใจเราเป็นสุข
3.ควรพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
4.อย่าอิจฉาริษยาคนที่ได้ดีกว่า
5.แม้เราจะถูกกลั่นแกล้งอย่างไร ก็ควรจะอดทนไม่ตอบโต้เขาไป

6.มีความกตัญญู

ตัวละครหลัก

ตัวละครหลักเรื่องปลาบู่ทอง



พระเจ้าพรหมทัต
กษัตริย์ปกครองเมืองพาราณาสี เป็นชายหนุ่มรูปงาม ใจดี มีเมตตาแต่ยังหาพระมเหสีไม่ได้

เอื้อย
ลูกสาวของนายทองกับนางขนิษฐา เป็นคนสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ใจดี รักสัตว์

ขนิษฐา
แม่ของเอื้อย ใจดีมีเมตตา รักเอื้อยมาก

ขนิษฐี
เมียอีกคนของนายทอง เป็นคนขี้อิจฉา ชอบแกล้งขนิษฐา และเอื้อยต่างๆนาๆ รักลูกแต่ส่งเสริมลูกใน ทางที่ไม่ดี ฉลาดแกมโกง

อ้าย
ลูกสาวของนางขนิษฐีกับนายทอง มีนิสัยเหมือนแม่ อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นใครได้ดีกว่าตน

อี่
 น้องสาวอ้าย เป็นคนที่ไม่ค่อยฉลาดเท่าไรนัก ไม่เป็นคนใจร้ายเลยซะทีเดียว แต่เนื่องจากอยู่กับแม่ ขนิษฐีและอ้าย จึงต้องร้ายตามไปด้วย ขี้กลัว

นายทอง
เป็นหัวหน้าครอบครัว รักทุกๆคน ในครอบครัว แต่ชอบฟังความข้างเดียว ขี้โมโห (ขาดเหตุผล) โกรธง่ายหายเร็ว

ปลาบู่ทอง
คือขนิษฐา (นิสัยเหมือนตอนที่เป็นคน)


หลักการและเหตุผลของเรื่องปลาบู่ทอง

หลักการและเหตุผลของเรื่องปลาบู่ทอง

เป็นนิทานพื้นบ้าน ที่นิยมเล่ากันอย่างแพร่หลาย ปรากฏทั้งรูปแบบที่เป็นมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ที่มีการบันทึกในรูปแบบร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นเรื่องของความอิจฉาริษยาอาฆาตระหว่างเมียหลวงเมียน้อย เมียหลวงตายไปเกิดเป็นปลาบู่ทอง และต่อมาเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง นางเอื้อยผู้เป็นนางเอกถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรมจนตกทุกข์ได้ยาก แต่เมื่อกษัตริย์ประพาสป่า นางเอื้อยเป็นผู้ถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้ จึงได้เป็นมเหสีของกษัตริย์ แต่ต่อมาก็หลงกลแม่เลี้ยงจนตายไปและเกิดเป็นนกแขกเต้า จนฤาษีต้องมาช่วยชุบชีวิตคืนมา ตอนท้ายเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าคนดีย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานที่มีคติสอนใจในเรื่องกฎแห่งกรรมและให้คนยึดมั่นในการทำความดี จึงได้มีการนำมาใช้เป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็กและมีการสร้างเป็นบทภาพยนตร์และละครโทรทัศน์


ความเป็นมา


ความเป็นมาของเรื่องปลาบู่ทอง

วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลงานเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7ชายหาปลาคนหนึ่งมีเมีย 2 คน เมียหลวงมีลูกสาวชื่อเอื้อย เมียน้อยมีลูกสาวชื่ออ้าย และอี่ วันหนึ่งชายหาปลาจับได้ปลาบู่ทอง เมียหลวงถูกสามีฆ่าตาย ไปเกิดเป็นปลาบู่ทองหามาเอื้อยลูกสาวของตน แต่ก็ถูกเมียน้อย และลูก ๆ กลั่นแกล้งจับมากิน เอื้อยได้เกล็ดปลาไปปลูกเป็นต้นมะเขือก็ถูกถอนไปกินอีก จึงนำเม็ดมะเขือมาปลูกเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง ท้าวพรหมทัตเสด็จมาพบและได้พบกับเอื้อยทรงพอพระทัยนางมากจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสี ต่อมาถูกฆ่าตายไปเกิดเป็นนกแขกเต้าฤาษีได้ช่วยไว้และชุบให้เกิดเป็นดังเดิม เอื้อยจึงได้กลับเข้ามาอยู่ในวังหลวง ส่วนอ้ายซึ่งปลอมตัวเป็นเอื้อยถูกสั่งให้ประหารชีวิต


ชื่อสมาชิก

เรื่อง ปลาบู่ทอง


ชื่อสมาชิก

1.ด.ช.อัครพล  พึ่งจีน เลขที่ 8



2.ด.ญ.รสิตา  ทองม่วง เลขที่ 20


3.ด.ญ.ศิริรัตน์  สิงห์เถื่อน เลขที่ 22


4.ด.ญ.สายธาร  ทับทิมศรี เลขที่ 24