หลักการและเหตุผลของเรื่องปลาบู่ทอง
เป็นนิทานพื้นบ้าน ที่นิยมเล่ากันอย่างแพร่หลาย
ปรากฏทั้งรูปแบบที่เป็นมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ที่มีการบันทึกในรูปแบบร้อยแก้วและร้อยกรอง
เป็นเรื่องของความอิจฉาริษยาอาฆาตระหว่างเมียหลวงเมียน้อย เมียหลวงตายไปเกิดเป็นปลาบู่ทอง
และต่อมาเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง
นางเอื้อยผู้เป็นนางเอกถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรมจนตกทุกข์ได้ยาก
แต่เมื่อกษัตริย์ประพาสป่า นางเอื้อยเป็นผู้ถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้
จึงได้เป็นมเหสีของกษัตริย์ แต่ต่อมาก็หลงกลแม่เลี้ยงจนตายไปและเกิดเป็นนกแขกเต้า
จนฤาษีต้องมาช่วยชุบชีวิตคืนมา
ตอนท้ายเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าคนดีย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
ปลาบู่ทอง เป็นนิทานที่มีคติสอนใจในเรื่องกฎแห่งกรรมและให้คนยึดมั่นในการทำความดี
จึงได้มีการนำมาใช้เป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็กและมีการสร้างเป็นบทภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น